ตั้งค่าการใช้งาน Google SketchUp
ก่อนจะเริ่มการใช้งาน Google SketchUp เราควรที่จะรู้จักกับ Interface ของ Google SketchUp เมื่อเข้าสูโปรแกรมจะพบกับหน้าต่างออกแบบละส่วนของแถบเครื่องมือต่างๆ แยกเป็นส่วนๆ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม ซึ่งส่วนต่างๆเราจะสามารถตั้งค่าต่างๆก่อนเริ่มใช้งานโปรแกรม เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่ามาตราส่วนหน่วยวัด การตั้งค่าคีย์ลัด รวมไปถึงพื้นที่การทำงาน- การเลือกเทมเพลตและการสร้างเทมเพลตใหม่
- สร้าง Template Google SketchUp ตามสไตล์ของตัวเอง
หากเราต้องการสร้าง Template ตามที่เราต้องการ สามารถกำหนดได้เองตามขั้นตอนต่อไปนี้
1) ไปที่เมนู Windows ---> Styles
2) เลือก List รายการสไตล์ที่ต้องการ
3) คลิกเลือก โมเดลที่เราต้องการและเราสามารถกำหนดมาตราส่วนและหน่วยวัดของ Google SketchUp โดย เลือกเมนู Windows ---> Model Info
ขั้นตอนที่ 1 เลือก Unit
ขั้นตอนที่ 2 เลือก Format เลือก ประเภท Decimal , Precision เลือกตำแหน่งหน่วย 0.0000
ขั้นตอนที่ 3 เลือก ปกติจะเลือกเป็นประเภท Centimeters
4) เมื่อเลือกรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว หากต้องการ Save Template ให้ไปที่ เมนู File --> SaveAs Template... จะปรากฏหน้าต่างดังภาพ
กดปุ่ม Save เพื่อทำการ Save Template เป็นอันเสร็จสิ้นการสร้าง Template
เมื่อเราเปิดโปรแกรม Google SketchUp เราสามารถเรียกใช้ Template ที่เราบันทึกไว้ ดังภาพ
- การตั้งค่ามาตราส่วนและหน่วยวัด Google SketchUp
ในการสร้างและออกแบบโมเดลใน Google SketchUp เราสามารถกำหนดมาตราส่วนและหน่วยวัดได้ดั้งนี้
ไปที่ เมนู Windows ---> Model Info
ส่วนที่ 1 เลือก Unit Length Unit
ส่วนที่ 2 เลือก ประเภทหน่วยวัด ซึ่งส่วนใหญ่ที่ใช้กันในการออกแบบโมเดลพื้นฐานจะใช้เป็น Decimal และเลือก Precision เป็น 0.0000
ส่วนที่ 3 เลือกเป็น Centimeters ซึ่งเหมาะสำหรับการออกแบบโมเดลพื้นฐาน Angle Units ใช้ในการกำหนดหน่วยย่อยของหน่วยวัดมุม และกำหนด Snapping ของมุมที่กำหนด
แถบเครื่องมือ Google SketchUp
- การปรับแต่ง Toolbar Google SketchUp
เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Google SketchUp จะปรากฏแถบเครื่องมือ ชุด Getting Started เป็นเครื่องมือเริ่มต้นของ Google SketchUp ดังภาพ
- การเคลื่อนย้ายตำแหน่งของ Toolbar
เราสามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งของเครื่องมือได้มีอิสระ ไม่ว่าจะเป็นด้านข้าง
ด้านบนและด้านล่าง หรือวางในตำแหน่งพื้นที่การสร้างโมเดลได้
โดยคลิกที่ขอบของแถบเครื่องมือแล้วลากวางในตำแหน่งที่เราต้องการ
ทั้งนี้ยังสามารถปรับขนาดของแถบเครื่องมือได้โดยการลากตรงขอบด้านบนของแถบ
Toorbar
- การเพิ่มแถบเครื่องมือ
แถบเครื่องมือของ Google sketchUp สามารถเพิ่มเติมหรือเรียกใช้ได้ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและสามารถเรียกใช้เครื่องมือได้อย่างสะดวก โดยเราสามารถเรียกใช้แถบเครื่องมือได้ดังนี้
ไปที่ เมนู View ----> Toolbar ----> แล้วคลิกเลือกเมนูที่ต้องการ ในตัวอย่างจะเลือก Toolbar ของ Camera จะได้ผลดังภาพ
- การบันทึกตำแหน่งชุดเครื่องมือ
เมื่อเราเลือกวางตำแหน่งของชุดเครื่องมือตามที่เราต้องการแล้ว
เราสามารถบันทึกตำแหน่งชุดเครื่องมือได้โดย ไปที่ เมนู View --->
Toolbar--->Save Toolbar Positions ดังภาพ
เมื่อเราขยับชุดเครื่องมือเพื่อทำงาน
แล้วต้องการให้เครื่องมือย้ายกลับไปตำแหน่งที่เรา Save ให้เราไปที่ เมนู
View ---> Toolbar ---> Restore Toolbar Positions ดังภาพ
ภาพก่อน Restore Toolbar Positions
ภาพหลัง Restore Toolbar Positions
หลังจากใช้คำสั่ง Restore Toolbar Positions เครื่องมือจะกลับคืนตำแหน่งที่เราทำการ Save Positions ไว้
การควบคุมมุมมอง Google SketchUp
เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวก และรวดเร็ว เรายังสามารถที่จะควบคุมมุมมองในขณะทำงานด้วยเครื่องมือต่างๆได้ด้วยการใช้ เม้าส์ร่วมกับคีย์บอร์ด โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้
การปรับหมุนมุมมอง คลิกที่ลูกกลิ้งของเม้าส์ เครื่องมือจะถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือ Orbit ชั่วคราว
การเลื่อนมุมมอง คลิกที่ลูกกลิ้งของเม้าส์พร้อมกดคีย์ Shift เครื่องมือจะถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือ
Pan ชั่วคราว
การย่อ / ขยาย หมุนลูกกลิ้งไปข้างหน้าจะเป็นการขยาย หมุนมาด้านหลังจะเป็นการย่อ
ในขณะที่เลือกเครื่องมือ Orbit, Pan และ Zoom สามารถที่จะคลิกเม้าส์ปุ่มขวาเพื่อเรียกแสดงเมนูคำสั่ง สำหรับการควบคุมมุมมองได้อีกด้วย
Tip : ในขณะที่ใช้เครื่องมือ Orbit, Pan, Look, Around, Walk หรือ Zoom การกำหนดปุ่ม ESC หรือ คลิกขวาเลือกคำสั่ง Exit เครื่องมือจะถูกเปลี่ยนไปเป็นเครื่องมือก่อนหน้าที่ถูกเลือกใช้งาน
หมายเหตุ : ในกรณีที่ใช้เครื่องมือใดๆอยู่ แล้วทำการเปลี่ยนเครื่องมือเป็น Orbit หรือ Pan ชั่วคราว ซึ่งขณะนั้นจะมีการคลิกเม้าส์ปุ่มกลางอยู่ก็ให้คลิกเม้าส์ปุ่มขวาเพื่อเรียก แสดงเมนูได้ โดยจะต้องไม่ปล่อยเม้าส์ปุ่มกลาง
แกนอ้างอิง Google SketchUp
การวาดเส้นใน Google SketchUp จะมีการอ้างอิงทิศทางตามแกนอ้างอิง (Axes) ทั้ง 3 แกนเพื่อให้การสร้างเส้นในทิศทางต่างๆ
มีความถูกต้องและแม่นยำ โดยถ้าวาดเส้นขนานไปตามแกน X เส้นที่กำลังวาดอยู่จะแสดงเป็นสีแดง
หรือถ้าวาดเส้นขนานไป ตามแกน Y เส้นที่กำลังวาดอยู่จะแสดงเป็นสีเขียว
แกน X
แกน Y
การย้ายตำแหน่งแกนอ้างอิง
เราสามารถที่จะย้ายตำแหน่งของแกนอ้างอิงและปรับหมุนไปในทิศทางต่างๆ
ได้เพื่อใช้
อ้างอิงการสร้างเส้นหรือรูปทรงในทิศทางที่ต้องการ สามารถทำได้โดยเลือกไอคอน
หรือเลือกจากเมนู Tools
--- > Axes หรือจะใช้วิธีคลิกขวาที่แกนอ้างอิงแล้วเลือกคำสั่ง
Place ก็ได้เช่นกัน

นอกจากนี้เรายังสามารถย้ายแกนอ้างอิงไปยังตำแหน่งใดๆ
โดยการกำหนดตำแหน่งและทิศทางที่แน่นอนลงไป สามารถทำได้โดยคลิกขวาที่แกนอ้างอิงแล้วเลือกคำสั่ง
Move จะปรากฏหน้าต่าง
Move Sketching Context ขึ้นมา
โดยจะมีตัวเลือกให้กำหนดค่าทั้งในส่วนของการกำหนดตำแหน่งและการกำหนดองศาของแกนทั้ง
3 แกน
การอ้างอิงตำแหน่งด้วย Inference
Inference เป็นอีกความสามารถของ Google SketchUp ที่จะช่วยให้การสร้างชิ้นงานในตำแหน่งและทิศทางต่างๆ
สามารถกระทำได้ง่ายขึ้น โดย Inference จะแสดงอยู่ในรูปแบบของสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น จุดสี
เส้นทึบ เส้นประสีต่างๆ
พร้อมแสดงข้อความที่จะช่วยให้เรารู้ว่าขณะนั้นกำลังทำงานอยู่ที่ตำแหน่งไหน
และอ้างอิงอยู่กับแกนใด
Inference เป็นแบบจุด (Point Inference)
จะปรากฏให้เห็นตามแนวเส้นและพื้นผิวของชิ้นงานพร้อมข้อความกำกับ โดยรูปแบบของจุด
สี และข้อความจะแสดงผลแตกต่างกันออกไป
Inference แบบเส้น (Line Inference)
จะปรากฏให้เห็นขณะมีการวาดเส้นไปยังทิศทางต่างๆ
ที่อ้างอิงจากแกนอ้างอิงหรือเส้นตรงบนชิ้นงาน โดย Inference แบบเส้นจะแสดงให้เห็นด้วยเส้นที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป
พร้อมแสดงข้อความกำกับ โดยรูปแบบของเส้น สี และข้อความจะแสดงผลแตกต่างกันออกไป
Inference
บนพื้นระนาบ (Planar
Inference)
เป็น Inference ที่จะช่วยให้การสร้างเส้นหรือรูปทรงต่างๆ บนพื้นผิวระนาบได้ง่ายขึ้น
ซึ่งจะหมายถึงการทำงานบนพื้นผิวที่มีความคลาดเอียงในทิศทางต่างๆ
รวมไปถึงตำแหน่งที่เป็นพื้นดินบนพื้นผิวการทำงานด้วย
การแบ่งเส้นตรงออกเป็นส่วนๆ ด้วยคำสั่่ง Divide
เรา
สามารถแบ่งเส้นตรงออกเป็นส่วนๆที่เท่ากันได้โดยการคลิกขวาที่เส้นที่ต้องการ
แบ่ง แล้วเลือกคำสั่ง Divide แล้วเลื่อนเม้าส์เพื่อกำหนดจำนวนการแบ่งเส้น
หรือกำหนดในช่อง Segments ก็ได้เช่นกัน
ดังภาพ
องค์ประกอบของวัตถุใน Google SketchUp
องค์ประกอบของวัตถุใน Google SketchUp
วัตถุหรือรูปทรงใน Google sketchUp จะปรากฏไปด้วยเส้นและพื้นผิวเป็นหลัก
โดยพื้นผิวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการบรรจบกันของเส้นตั้งแต่ 3 เส้นขึ้นไป
ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เราวาดเส้นมาบรรจบกันในระนาบเดียวกันก็จะเกิดพื้นผิวขึ้นภายในขอบเขตของเส้นเหล่านั้น
และในส่วนของพื้นผิวเองจะมีด้วยกันอยู่ 2 ด้านคือ พื้นผิวด้านนอกและพื้นผิวด้านใน ดังภาพ
สร้างโมเดลบ้านแบบง่าย
สำหรับใบความรู้นี้ เราจะมาทอลองสร้างงานแบบง่ายๆกัน โดยใช้เพียงเครื่องมือพื้นฐานและเวลาเพียงไม่นาน เราก็จะได้บ้าน 1 หลัง จากนั้นก็ปรับพร๊อปประกอบฉาก เพื่ออุ่นเครื่องการทำงานและการใช้เครื่องมือใน Google SketchUp8 ก่อนที่จะได้ทำงานที่ประยุกต์ขึ้นมา
บ้านที่เราจะสร้างเป็นบ้านเดี่ยว หลังคาทรงจั่ว
และมีองค์ประกอบเพิ่มเติมเล็กน้อย
เพื่อประกอบฉากให้สมบูรณ์และมีเรื่องราวมากขึ้น ดังนี้
จากภาพ เราจะแบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 สร้างตัวบ้าน
ขั้นตอนที่ 2 ใส่ประตูและหน้าต่าง
ขั้นตอนที่ 3 ใส่สีสันให้กับบ้าน
ขั้นตอนที่ 4 ตกแต่งเพิ่มองค์ประกอบให้บ้าน
ขั้นตอนนี้เราจะสร้างตัวบ้านเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม โดยจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ
- ตัวบ้าน
- หลังคาบ้าน
สร้างตัวบ้าน
การสร้างตัวบ้านเป็นการการฝึกกำหนดขนาดและรูปทรงของโมเดล โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.2 คลิกเมาส์ลากเพื่อสร้างวัตถสี่เหลี่ยม จะได้รูปสี่เหลี่ยมเป็นฐานของบ้าน
2. ใช้ (Push/Pull Tool) ดึงพื้นผิวของรูปสี่เหลี่ยมขึ้นมาเป็นตัวบ้าน
2.1 คลิกเลือก (Push/Pull Tool)
2.2 คลิกเมาส์บนพื้นผิวแล้วลากเมาส์ขึ้น 2.3 คลิกเมาส์อีกครั้ง เพื่อจบการดึงพื้นผิว เราจะได้ตัวบ้านเป็นรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยม
สร้างหลังคาบ้าน
สำหรับ
หลังคาบ้าน เราจะใช้การวาดเส้นเข้ามาช่วยเพิ่มส่วนประกอบของบ้าน
โดยจะลากเส้นตรงบริเวณกึ่งกลางรูปทรงสี่เหลี่ยม แล้วดึงเส้นนั้นขึ้นมา
ให้เป็นหลังคาทรงจั่ว ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้1. ใช้

1.1 คลิกเลือก Line Tool
1.2 คลิกเมาส์ตำแหน่งตรงกลาง (สังเกตจุดสีฟ้าและมีคำว่า Midpoint) แสดงว่าตำแหน่งนั้นอยู่กึ่งกลางด้านกว้างของสี่เหลี่ยม1.3 ลากเมาส์ไปยังด้านกว้างอีกด้านหนึ่งของสี่เหลี่ยมแล้วคลิกเมาส์ที่กึ่งกลางของด้านนั้นจะเกิดเป็นเส้นตรงตามแนวขึ้นมา
2.2 คลิกเมาส์ที่เส้น
2.3 คลิกเมาส์ค้างไว้แล้วลากเมาส์ขึ้นตามแกนสีน้ำเงินจากนั้นคลิกเมาส์อีกครั้งเพื่อวาง
3.1 คลิกเลือก (Line Tool)
3.2 คลิกเมาส์บริเวณเส้นขอบของตัวบ้านจะปรากฏ แสดงว่าเราวางเมาส์บนเส้นขอบพอดี
3.3 คลิกเมาส์ที่ฝั่งตรงข้ามจุดในแนวยาวของตัวบ้านเพื่อสร้างเส้นรอบตัวบ้านเป็นขอบหลังคา
3.4 คลิกสร้างเส้นให้รอบตัวบ้านทั้งหมด4. ใช้ Push/Pull Tool ดึงด้านหน้าของหลังคาออกมาให้คลุมหน้าบ้าน
4.1 คลิกเลือก Push/Pull Tool
4.2 คลิกเมาส์บนพื้นผิวหลังคาด้านหน้า
4.3 ลากเมาส์ดึงพื้นผิวออกมาด้านหน้าเล็กน้อยแล้วคลิกเมาส์วางตำแหน่งพื้นผิว
ขั้นตอนที่ 2 ใส่ประตูและหน้าต่าง
ขั้นตอนการใส่ประตูและหน้าต่าง โดยจะนำประตูและหน้าต่างมาจากโมเดลสำเร็จรูปใน Google SketchUp ที่เตรียมไว้ให้เราเลือกใช้อยู่แล้ว โดยเรียกโมเดลนี้ว่า คอมโพเนนท์ Component
1. เรียกโมเดลสำเร็จรูปขึ้นมาใช้งาน โดยเปิดไดอะล็อกบ๊อกซ์ Components ด้วยคำสั่ง Window ---> Components จากนั้นเลือกหมวดโมเดลเป็น Architecture ซึ่งเป็นหมวดเกี่ยวกับการสร้างงานสถาปัตย์
2. โปรแกรมจะติดต่อกับ 3D Warehouse ให้เราเพื่อค้นหาโมเดลสำเร็จรูป ในที่นี้เราจะเลือกใช้งานประตูและหน้าต่าง ให้คลิกเลือกที่ DC Doors and Windows จากนั้นให้ปรับการแสดงชิ้นงานเป็นรูปแบบ Large Thumbnails เพื่อความสะดวกในการเลือก
2.1 คลิกเลือก Dc Doors and windows
2.2 คลิกปุ่ม
แล้วเลือก Large Thumbnailsจะแสดงตัวอย่างโมเดลเป็นไอคอนภาพ

3. คลิ
กเลือกรูปแบบประตูที่ต้องการแล้วนำไปวางที่บ้าน
ประตูสำเร็จรูปจะติดปลายเมาส์เมื่อเราลากเมาส์ออกจากไดอะล็อกบ๊อกซ์
และถ้าเราต้องการวางประตูในตำแหน่งใด ก็ให้คลิกเมาส์ 1 ครั้ง ดังภาพ
4. คลิ
กเลือกรูปแบบหน้าต่างที่ต้องการแล้วนำไปวางที่บ้าน
หน้าต่างที่เลือกจะติดปลายเมาส์ไป เช่นเดียวกับประตู
และถ้าเราต้องการวางหน้าต่างในตำแหน่งใด ก็ให้คลิกเมาส์ 1 ครั้ง จากนั้นก็วางหน้าต่างได้ตามจำนวนที่เราต้องการ ในตัวอย่างวางไว้ 3 บาน ดังภาพ
ขั้นตอนที่ 3 ใส่สีสันให้กับตัวบ้าน
2 . เลือกหมวด Colors เพื่อใช้สีพื้นกับบ้าน
3. คลิกเลือกสีและคลิกเทสีให้กับลังคา
|
4. คลิกเมาส์ซ้ำบริเวณพื้นผิวที่ต้องการใส่สี
6. คลิกเมาส์ซ้ำบริเวณพื้นผิวที่ต้องการใส่สี จะได้โมเดลดังภาพ |
การสร้างโมเดลบ้านแบบง่ายก็มีเนื้อหาเพียงเท่านี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์
สำหรับผู้ที่เริ่มฝึกทำโมเดล เพราะได้ใช้เครื่องมือแทบทุกตัวเลย
พี่ครับ เวลาทำไปนานๆๆ เเล้ว งานที่เราสร้างขึ้นไม่ได้ฉากกับเส้นพิกัดที่บอกไว้ ต้องเเก้ยังไงครับ คือว่ามือใหม่อ่ะครับ ...ขอคำเเนะนำด่วนที่สุดครับ ขอบคุณนะครับ
ตอบลบพี่ครับ เวลาทำไปนานๆๆ เเล้ว งานที่เราสร้างขึ้นไม่ได้ฉากกับเส้นพิกัดที่บอกไว้ ต้องเเก้ยังไงครับ คือว่ามือใหม่อ่ะครับ ...ขอคำเเนะนำด่วนที่สุดครับ ขอบคุณนะครับ
ตอบลบ♥️
ตอบลบ